ประเภทของ Compressor
ประเภทของ Compressor
Compressor โดยส่วนมากแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ VCA, Optical, FETและ variable-Mu ซึ่งแต่ละประเภทนั่นทำหน้าที่เดียวกันคือการ compression แต่จะมีความต่างกันด้วยรูปแบบวงจร Gain reduction ที่ส่งผลต่อสัญญาณเสียงที่ไหลผ่านมัน
VCA Compression
เป็น compressor นิยมใช้กันเพราะสามารถปรับได้ทั้ง attack, release, threshold, ratio, Knee ซึ่ง VCA ย่อมาจาก Voltage Controlled Amplifier จะพบได้ทั่วไปตาม DAW หรือ application เกี่ยวกับเสียง เรียกได้ว่าเป็น plug-in พื้นฐานเลยก็ได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กับ Master bus หรือ group ของเครื่องดนตรี หรือจะแยกเป็นชิ้นก็ได้ VCA compressor ที่นิยมใช้ ก็มี SSL channel strip, API compressor และ DBX 160 เป็นต้น
Optical Compressor
หลักการทำงานการ compress ขึ้นกับการกระพริบของแสงไฟจากหลอด LED ด้านใน ถูกออกแบบมาใช้ง่ายต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ LA-2A ที่มี parameter หลักๆเพียง 2 อย่าง คือ input level และ make up gain
Optical Compressor จะไม่ได้เสียงที่ดีนักสำหรับใช้กับเสียงที่ต้องการให้สั้น มี sharp transients ได้เหมือนกับ VCA แต่เหมาะสำหรับทำให้เสียงมีความ smooth มากกว่าที่ ratio สูงๆ และไม่นิยมใช้สำหรับการ mastering
FET Compressor
Field Effect Transistor เป็น compressor ที่มีการตอบสนองค่อนข้างเร็ว บางคนจะสับสนระหว่าง FET และ VCA หรือบางครั้งบอกว่า FET เป็นซับเซ็ตของ VCA และ FET จะมีการเพิ่ม colour มาด้วย ที่พูดถึงกันมากๆคือ UREI 1176 ที่นิยมใช้กับเสียง Kick, snare
Variable-Mu Compressor
เป็น tubes compressor เรียกได้ว่าเป็น compressor รุ่นแรก ให้เสียงที่โทนอุ่น และมี Attack time ที่ช้า บวกกับ soft-knee แล้วจะทำให้การ compress มีความ smooth อย่างมาก มักถูกใช้ กับการ mastering มากกว่า
อ้างอิง : Producer Hive, 4 type of audio compressor & when to use each of them, by Kieran Whitehouse, https://producerhive.com/ask-the-hive/types-of-audio-compressors-when-to-use-them/
: Izotope, 4 type of analog compression-and they matter in a digital world, by Nic Messitte, Izotope Contributor, https://www.izotope.com/en/learn/4-types-of-analog-compression-and-why-they-matter-in-a-digital-world.html
แปลและเรียบเรียงโดย กิตติธร หิมะสุข
เรียบเรียงโดย : สุชาดา พาณิชยางกูร
จัดทำขึ้นโดย บริษัท ชัยชนะซาวด์ จำกัด